ฟันปลอม มีกี่แบบ
การทำฟันปลอม มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ฟันปลอมแบบติดแน่น และฟันปลอมแบบถอดได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันด้านความแข็งแรง ราคา และการใช้งาน โดยทางทันตแพทย์จะแนะนำสิ่งที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับคนไข้มากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนไข้ ว่าต้องการใช้ฟันปลอมในรูปแบบใด
1. ฟันปลอมแบบถอดได้ มี 2 แบบ คือ ฟันปลอมแบบฐานพลาสติก และ ฐานโลหะ
2. ฟันปลอมแบบติดแน่น มี 2 แบบ คือ การทำสะพานฟัน และ รากฟันเทียม
ฟันปลอมแบบถอดได้
การทำฟันปลอมแบบถอดได้ จะเป็นการทำฟันปลอมที่ใช้ตะขอเกี่ยวกับฟันเดิมของเรา และสามารถถอดออกทำความสะอาดได้ โดยฟันปลอมแบบถอดได้ จะสามารถทำได้ทั้งปาก หรือ บางส่วนเพื่อทดแทนซี่ที่หายไป ขึ้นอยู่กับปัญหาช่องปากของแต่ละบุคคล ซึ่งทางคลินิกของเรา มีให้บริการ การทำฟันปลอมแบบถอดได้ 2 วัสดุด้วยกัน คือ แบบฐานพลาสติก และ ฐานโลหะ
ราคา | ราคาไม่สูง | สูงกว่าวัสดุพลาสติก |
จำนวนครั้งที่พบแพทย์ | 2 – 4 ครั้ง | 3 – 5 ครั้ง |
ราคา 1 ซี่ (เริ่มต้น) | หลักพัน ประมาณ 2,500 บาท | หลักหมื่น ประมาณ 15,000 บาท |
ข้อดีฟันปลอมถอดได้
ข้อด้อยฟันปลอมถอดได้
ข้อควรทราบและปฏิบัติหลังการ ใส่ฟันปลอม
- ควรจะแปรงฟัน และแปรงฟันปลอมทุกครั้งหลังการรับประทานอาหาร
- ไม่ควรใส่ฟันปลอมนอน เพื่อที่จะได้ให้เหงือกนั้นได้พักผ่อน และหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเหงือกอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการใช้ฟันปลอมที่เป็นซี่หน้ากัดหรือขบเคี้ยวอาหาร เพราะนั้นจะทำให้ฟันปลอมหลุดออกมาได้ง่ายๆ ควรหลีกเลี่ยงไปใช้ฟันแท้แทน
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่แข็งและเหนียวจนเกินไป
- เก็บฟันปลอมได้โดยการนำฟันปลอมที่ได้รับการทำความสะอาดแล้วไปใส่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับแช่ฟันปลอม ควรจะใส่น้ำให้มีระดับน้ำเหนือฟันปลอม และการแช่ฟันปลอมในน้ำนั้นจะทำให้ฟันปลอมไม่แห้ง และไม่เบี้ยว หด หรือเสียรูป
- เมื่อใส่ฟันปลอมไปแล้ว และรู้สึกเจ็บ หรือมีปัญหาอย่างอื่น เช่น เคือง หรือแน่นเกินไปเป็นต้น ควรจะรีบกลับไปปรึกษาทันตแพทย์ที่ได้ทำฟันปลอมให้ทันที เพื่อทำการเช็คและแก้ไขปัญหาให้
- หมั่นพบทันตแพทย์ทุก6 เดือน เพื่อเช็คสุขภาพช่องปาก และฟัน
- ทุกครั้งที่ทำการใส่ฟันปลอมควรหาภาชนะใส่น้ำไว้ และรองไว้ขณะที่เราใส่ฟันปลอม เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หากฟันปลอมหลุดมือ จะได้ไม่ตกลงไปกระแทกพื่น แต่จะตกลงในภาชนะที่เราใส่น้ำไว้นั้นเอง
- แนะนำให้ทำฟันปลอมกับทันตแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านการทำฟันปลอมโดยเฉพาะ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่ชวนให้ทำฟันปลอมราคาถูก แต่ไม่ได้ทำจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ทุกครั้งที่ถอดฟันปลอมไว้ ควรจะวางแช่ในน้ำยาแช่ฟัน หรือน้ำเปล่า ไม่ควรทิ้งไว้ข้างนอกให้โดนอากาศ เพราะจะทำให้ฟันปลอมเสียรูป หรือบิดงอได้
ฟันปลอมแบบติดแน่น
เป็นฟันปลอมถาวร ที่ยึดติดกับฟันข้างเคียงหรือเหงือก ธรรมชาติของเรา ซึ่งจะมีการทำ ครอบฟัน สะพานฟัน และ รากฟันเทียม
เปรียบเทียบ ราคา ฟันปลอมแบบติดแน่น
ราคา | ราคาตามยูนิตครอบฟัน | ราคาต่อซี่ฟันสูงสุด |
จำนวนครั้งที่พบแพทย์ | 3 – 4 ครั้ง | 6 – 8 ครั้ง |
ราคา 1 ซี่ (เริ่มต้น) | หลักหมื่น 30,000 บาท | หลักหมื่นกลางๆ 55,000 บาท |
ข้อดีฟันปลอมติดแน่น
ข้อด้อยฟันปลอมติดแน่น
ฟันปลอมติดแน่น ชนิดต่างๆ
ครอบฟัน
การครอบฟัน ถือเป็นการบูรณะและปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหายจากการแตกหัก หรือฟันที่ได้ผ่านการรักษารากฟัน สามารถทนแทนฟันจริง หรือเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน โดย ทันตแพทย์จะทำการครอบฟันซี่นั้น ๆ ด้วยวัสดุประเภทต่างๆ อาจทำจากโลหะล้วน ทั้งซี่ด้วยวัสดุเซรามิคล้วน (all ceramic) หรือทั้งโลหะและเซรามิค (PFM) เพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เพื่อให้ฟันซี่นั้นมีรูปร่างและประสิทธิภาพการใช้งานดีดังเดิม มีความติดแน่น โดยสามารถปรับสี ให้เข้ากับ สีฟันตาม ธรรมชาติได้
ครอบฟัน เหมาะกับใคร ?
- กรณีครอบฟันหน้า มักเน้นเรื่องความสวยงาม
- ส่วนฟันหลังหรือ ครอบฟันกราม จะเน้นเรื่องการใช้งานบดเคี้ยวอาหาร เช่น มีฟันผุเป็นจำนวนมากและลักษณะ ของฟันที่ผุมีขนาดกว้าง เนื้อฟันเหลือน้อยจึงไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันได้
- ผู้ที่มีฟันแตก ฟันร้าวควรต้องรักษาด้วย ครอบฟัน เพื่อเก็บรักษาฟันให้ใช้งานได้ยาวนาน
- ผู้ที่เคยผ่านการรักษารากฟันมาก่อน เนื่องจากเนื้อฟันจะเปราะบางมากกว่าเหมือนกับฟันปกติ
- ครอบฟัน ยังช่วยในการปรับการเรียงตัวของฟันได้ ในกรณีที่ฟันมีความผิดปกติ เนื่องจากฟันเกิดอุบัติเหตุ แตก หัก หรือบิ่น สีฟันและรูปร่างฟันไม่สวยงาม เหมือนฟันซี่ข้างเคียง
สะพานฟัน
การทำสะพานฟัน คือ
- การทำฟันปลอมชนิดติดแน่นอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป
- โดยหลักการของสะพานฟันก็คือ อาศัยฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเป็นหลักในการยึดติด ไม่สามารถถอดเข้าออกด้วยตัวเองได้
- รูปร่างของสะพานฟันก็เหมือนฟันธรรมชาติ ไม่มีตะขอ ไม่มีแผ่นเหงือกปลอม
- การทำสะพานฟันจะทำในกรณีที่ฟันถูกถอนไป แต่ยังเหลือฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่แข็งแรงสามารถเป็นหลักยึดสะพานฟันได้
ใครบ้าง ที่เหมาะกับสะพานฟัน ?
- บุคคลใดก็ตามที่ฟันซี่ติดกันหายไปตั้งแต่ 1-3 ซี่ อาจเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการทำสะพานฟัน อย่างไรก็ตามการจะตอบคำถามได้ว่าสะพานฟันเหมาะกับคุณหรือไม่จะต้องพิจารณาถึง ผลการตรวจฟัน สภาพของเหงือก กระดูกกราม และประวัติโรคประจำตัวของคุณอย่างละเอียดถี่ถ้วน
- การจะทำสะพานฟันให้สำเร็จได้นั้น คุณต้องมีฟันและสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่มีโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ ซึ่งหากคุณเป็นโรคเหงือก คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนที่จะทำหัตถการ
- หากคุณต้องการทำสะพานฟันแบบดั้งเดิม (ไม่ฝังรากฟันเทียม) ฟันที่เป็นฐานของสะพานฟันจะต้องมีแข็งแรงมากที่จะรองรับส่วนครอบฟันของสะพานฟันได้ หลังจากกรอเนื้อฟันออกบางส่วน
- สำหรับสะพานฟันที่ทำร่วมกับการฝังรากเทียม คุณต้องมีกรามที่มีมวลกระดูกหนาแน่นเพียงพอที่จะรับรากฟันเทียมได้ หากมวลกระดูกเบาบาง คุณอาจต้องได้รับการปลูกกระดูก หรือปรับเปลี่ยนตัวเลือกในการรักษา
- วิธีที่ดีที่สุดในการจะทราบว่าสะพานฟันเหมาะกับคุณหรือไม่ คือการนัดหมายกับเราเพื่อให้คุณหมอตรวจฟันที่เหลืออยู่ของคุณอย่างละเอียด หลังจากนั้นคุณหมอจะสามารถให้คำแนะนำทางเลือกในการทดแทนฟันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ และยังตอบทุกคำถามที่คุณสงสัยได้ด้วย
สะพานฟัน บนรากฟันเทียม
สะพานฟันบนฟันธรรมชาติกับบนรากฟันเทียม ต่างกันยังไง?
มีข้อพึงพิจารณาระหว่างสะพานฟันบนฟันธรรมชาติและสะพานฟันบนรากฟันเทียม
สำหรับสะพานฟันบนฟันธรรมชาติ ข้อดีคือสามารถทำเสร็จได้เร็ว สามารถทำเสร็จได้ภายในไม่กี่วันซึ่งในความแข็งแรงและดูแลได้ไม่ยากนัก แต่ข้อเสียคือต้องทำการกรอฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเพื่อเป็นตัวหลักยึดของสะพานฟันและยังต้องรับแรงจากการบดเคี้ยวที่มากขึ้น จึงทำให้อ่อนแอและเสียฟันเพิ่มเติมได้ในระยะยาว
ในทางกลับกัน สะพานฟันบนรากฟันเทียมนั้น สามารถทำได้ในทุกบริเวณโดยไม่ต้องใช้ฟันธรรมชาติเป็นหลักยึด รากฟันเทียมเป็นโลหะจึงแข็งแรงและไม่มีการผุเพิ่มเติม สามารถรับแรงบดเคี้ยวได้มาก และทำหน้าที่เหมือนสะพานฟันบนฟันธรรมชาติทุกอย่าง แต่ข้อเสียคือใช้เวลาในการรักษานานตั้งแต่2เดือนขึ้นไปเพื่อรอให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรโดยสมบูรณ์ก่อนที่จะใส่สะพานฟันบนรากฟันเทียมต่อไป
รากฟันเทียม
รากฟันเทียม ของคลินิกปุณณกัณฑ์ทันตแพทย์ มีสองระบบคือ ระบบ OSSTEM และ Straumann
รากฟันเทียมเฉพาะซี่
รากฟันเทียม (dental implant) คือ รากฟันเทียมที่ทำมาทดแทนรากฟันจริง ซึ่งผลิตจากวัสดุไททาเนียม titanium ที่ได้รับ การออกแบบเป็นพิเศษ เข้ากับร่างกายของคนเราได้ดี จึงสามารถฝังลงเพื่อให้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องรากฟัน ช่วยทำให้ฟันเทียมติดแน่น รากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับ ทันตกรรมฟันปลอม,ครอบฟัน หรือ สะพานฟัน ที่ให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
รากฟันเทียม เป็น ฟันปลอม ที่ดีที่สุดคล้ายฟันธรรมชาติ ยึดติดแน่น ไม่ต้องถอดออก มีการตอบรับที่ดีกับ เนื้อเยื่อ เมื่อเวลาผ่านไปรากฟันเทียมจะยึดติดกับส่วนเดียวกับกระดูก ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด วิธีหนึ่งเลยทีเดียว ราคารากฟันเทียม อาจจะสูงอยู่บ้างแต่เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานถือว่าคุ้มค่ามากๆ
รากฟันเทียมรองรับฟันปลอม (เสริมความแน่น)
การปลูกรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอม
เนื่องจากฟันปลอมแบบทั่วไปใช้สันเหงือกเป็นฐานรองรับ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสันเหงือกก่อให้เกิดการหลวมของฟันปลอมได้ ซึ่งทันตกรรมรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอมเป็นการใช้รากเทียมเป็นเสายึดให้ ความมั่นคงแก่แผงฟันปลอม เพิ่มความมั่นใจในการใช้งานให้แก่คนไข้ โดยสามารถทำได้ทั้งบนขากรรไกรบนและล่าง
ประโยชน์ของการปลูกรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอม
- ให้ความมั่นคงและรองรับการใช้งานได้ดีกว่าการใช้ฟันปลอมแบบธรรมดา
- ช่วยให้การออกเสียงและการสนทนาเป็นไปได้โดยสะดวกและชัดเจน
- ไม่มีปัญหาเรื่องความกังวลว่าฟันปลอมจะหลวมหรือหลุด
- สามารถเลือกรับประทานอาหารได้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยยังคงต้องระวังในการรับประทานอาหารที่แข็งหรือเคี้ยวยาก เนื่องจากอาจทำให้ฟันปลอมชำรุดได้
- ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติกว่าการใส่ฟันปลอมแบบธรรมดาเนื่องจากไม่มีส่วนของฟันปลอมที่คลุมบนสันเหงือกหรือเพดานปาก สามารถถอดออกได้
- ทันตแพทย์สามารถปรับแต่งใช้ฟันปลอมของผู้ป่วยเดิม ในกรณีที่เหมาะสม
- การรักษามีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการปลูกรากเทียมเพื่อรองรับสะพานฟันแบบทั้งปาก
เคสรากฟันเทียม คลินิกปุณณกัณฑ์ทันตแพทย์
ส่วนหนึ่งของตัวอย่าง เคสรากฟันเทียม
ข้อควรทราบและปฏิบัติหลังการ ทำรากฟันเทียม
- การดูแลแผลหลังผ่าตัดรากฟันเทียม คนไข้ควรกัดผ้าให้แน่นพอสมควร นาน 1 ชั่วโมง แล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่ซ้ำอีกเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
- ถ้าเลือดไหลไม่หยุด ห้ามอมน้ำแข็ง ควรใช้น้ำแข็งห่อประคบนอกบริเวณปาก หรือบริเวณที่มีแผลผ่าตัด
- ห้ามบ้วนน้ำ หรือน้ำยาใดๆ ในช่วงวันแรกของการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม เพราะจะทำให้เลือดที่ปิดปากแผลหลุด และจะมีเลือดจะไหลออกมาได้อีก วันต่อมาจึงค่อยใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนเบาๆ (น้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมเกลือ 1 ช้อนชา) โดยเฉพาะภายหลังจากรับประทานอาหาร
- สามารถแปรงฟันทำความสะอาดช่องปากได้ตามปกติ เพียงแต่ช่วงแรกควรระวังอย่าให้โดนแผลที่เกิดจากการผ่าตัด
- ถ้ามีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่น ยาพาราเซตตามอลโดยทานครั้ง 1-2 เม็ด ถ้าอาการปวดไม่หาย ให้รับประทานใหม่ โดยควรทิ้งระยะห่างจากการกินครั้งก่อนหน้าเป็นเวลา 4 ชั่วโมง
- ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมา เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลออกอีกหลังเลือดได้หยุดไปแล้วหลังทำศัลยกรรม ควรเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ กินได้ง่าย เช่น นมเย็น ข้าวต้ม ซุปชนิดต่างๆ
- หากมีอาการบวม หรือรู้สึกได้ถึงอาการผิดปกติต่างๆ ควรกลับไปให้ทันตแพทย์ตรวจดูอีกครั้ง