ทันตกรรมสำหรับเด็ก
การเตรียมความพร้อมเด็กก่อนมาพบทันตแพทย์
ต้องพาเด็กน้อยมาพบหมอฟันจะทำยังไงดี ?
ความกลัวที่จะต้องเจอกับสิ่งใหม่ๆนั้นเป็นสิ่งที่สามารถพบได้ในเด็กทุกคน โดยจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป เช่น ร้องไห้ วิ่งหนี แต่ถ้าเด็กได้มีการเรียนรู้หรือมีการเตรียมความพร้อมก่อนก็จะทำให้ความกลัวลดลงได้ดังนั้นการพาเด็กมาพบหมอฟัน ควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งผู้ปกครอง และเด็ก เพื่อให้การพบหมอฟันสามารถผ่านไปได้ด้วยดี
การเตรียมความพร้อมของผู้ปกครอง
- อย่าเอาเรื่องทำฟันมาขู่ให้เด็กกลัว เช่น ถ้าดื้อจะพาไปให้หมอถอนฟัน
- ควรมีผู้ปกครองไปด้วยอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้คนหนึ่งดูแลเด็ก ส่วนอีกคนหนึ่งจะได้มีสมาธิคุยกับหมอ
- ระวัง!!!อย่าสัญญาในสิ่งที่คิดว่าจะไม่ทำตามสัญญา เช่น มาตรวจฟันอย่างเดียว
- ไม่แสดงความกลัวและกังวลใจที่จะต้องพาเด็กไปพบหมอฟัน
- เด็กจะยอมหรือไม่ยอมให้หมอตรวจก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหมอฟัน ซึ่งหมอฟันจะมีวิธีกล่อมเด็กเอง
- เตรียมของใช้จำเป็นของเด็กมาด้วย เช่น เสื้อผ้าสำรอง เสื้อกันหนาว ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
การเตรียมความพร้อมของเด็ก
- ก่อนมาพบหมอฟัน 1-2 สัปดาห์ หาหนังสือนิทานเกี่ยวกับการแปรงฟัน การไปพบหมอฟัน หรือ เล่นบทบาทสมมุติกันว่าไปพบหมอฟันเพื่อให้คุณหมอนับฟัน
- เด็กควรอยู่ในช่วงที่ร่างกายแข็งแรงดี ไม่เจ็บไม่ป่วย ไม่ไอมากหรือมีน้ำมูกมาก ไม่มีแผลในช่องปาก
- ควรพามาในช่วงเช้าเพราะเป็นช่วงที่ลูกอารมณ์ดี และมาก่อนเวลานัดหมายเพื่อให้ทำความคุ้นเคยกับสถานที่
- ให้ทานอาหารก่อนมาทำฟันอย่างน้อย 3 ชั่วโมงเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ควรพาเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าพบหมอฟัน
สิ่งนี้ก็สำคัญนะ 1.ควรพาเด็กไปพบหมอฟันตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นหรือไม่เกินอายุ 1 ปี
2.ควรดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้สะอาด ไม่ให้มีฟันผุ เวลามาพบหมอฟันจะเป็นแค่การตรวจฟัน หรือทันตกรรมป้องกัน ซึ่งใช้เวลาไม่นาน และไม่เจ็บปวด
3.หากผู้ปกครองพบว่าเด็กมีฟันผุเป็นรูเล็กๆ ควรรีบเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้ฟันผุลุกลาม
4.พบหมอฟันทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจประเมินฟันผุ ทำความสะอาดฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยและมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟัน
2.ควรดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้สะอาด ไม่ให้มีฟันผุ เวลามาพบหมอฟันจะเป็นแค่การตรวจฟัน หรือทันตกรรมป้องกัน ซึ่งใช้เวลาไม่นาน และไม่เจ็บปวด
3.หากผู้ปกครองพบว่าเด็กมีฟันผุเป็นรูเล็กๆ ควรรีบเข้ารับการรักษา อย่าปล่อยให้ฟันผุลุกลาม
4.พบหมอฟันทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจประเมินฟันผุ ทำความสะอาดฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยและมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟัน
เอกสารอ้างอิง
1.อ.ทพญ. ชุติมา อมรพิพิธกุล. 2560. “ลูกรักกลัวหมอฟัน”. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
2.ทพญ.นราวัลลภ์ เชี่ยววิทย์. 2560. ทำฟันในเด็ก น่ากลัวจริงหรือ!(2). งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3.สมาคมทันตกรรมสำหรับเด็กแห่งประเทศไทย. 2 สิงหาคม 2558.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยมหิดล
ทพญ. สายศุภี อารยสันติวงษ์
งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช